วิชา สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
รหัสวิชา EAED4902
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่
12
เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อต่าง
ๆ
บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานในรายวิชา สัมนาทางการศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2/2563 กลุ่มเรียน 102 (วันศุกร์เช้า)
วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564
วิชา สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
รหัสวิชา EAED4902
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่
12
ประชุมและจัดตารางกิจกรรม
ของแต่ละกลุ่ม
และเนื่องจากสถานการณ์โควิด อาจารย์จึงให้แต่ละกลุ่มจัดเป็นสัมมนาออนไลน์
ภายในกลุ่มของเรา
ได้ประชุมและได้วางแผนงาน
วางแผนการจัดสัมนา เพื่อให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน
หน้าที่มีดังนี้
1.
นางสาวอารีย์รัตน์ ไชยคำ หัวหน้าโครงการ หน้าที่ วิทยากร
2.
นางสาวตวงรัตน์ เจริญภาพ กรรมการ หน้าที่ ประสานงาน
3.
นางสาวกัญญาภัค ดวงตาดำ กรรมการ หน้าที่ ประสานงาน
4.
นางสาวภุมรินทร์ ภูมิอินทร์ กรรมการ หน้าที่ วิทยากร
5.
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา กรรมการ หน้าที่ พิธีกร
6.
นางสาวนวรัตน์ ปิยางกูร กรรมการและผู้ช่วย หน้าที่ ประสานงาน
7.
นางสาวรุ่งนภา ชัยลิ้นฟ้า เลขานุการ หน้าที่ พิธีกร
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
วิชา สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
รหัสวิชา EAED4902
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่
7
หัวข้อสัมมนา
1.เล่านิทานอย่างไรให้โดนใจเด็กปฐมวัย
2.บทบาทของพ่อแม่กับการส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกในศตวรรษ์ที่
21
3.เทคนิคการจัดกิจกรรมstream และดนตรีกับการเคลื่อนไหวเพื่อเสริมสร้างEQและ IQให้เด็กปฐมวัย
สมาชิก
นางสาวรุ่งนภา ชัยลิ้นฟ้า เลขที่ 3
นางสาวตวงรัตน์ เจริญภาพ เลขที่ 6
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา เลขที่ 13
นางสาวภุมรินทร์ ภูมิอินทร์ เลขที่ 14
นางสาวอารีรัตน์ ไชยคำ เลขที่ 19
นางสาวนวรัตน์ ปิยางกูร เลขที่ 20
นางสาวกัญญาภัค ดวงตาดำ เลขที่ 24
ให้นักศึกษาเข้าอบรมในหัวข้อต่างๆ
ที่จะช่วยพัฒนาการเป็นครูปฐมวัยที่ดี โดยเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจและมีวุฒิบัตร
จำนวน 3 เรื่อง จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วส่งภาพวุฒิบัตรในเฟสบุ๊ค ภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2564
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
วิชา สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
รหัสวิชา EAED4902
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่
5
งานชิ้นที่ 1
เขียนกระบวนการในการเลือกหัวข้อสัมมนาและมีปัจจัยเรื่องอะไรบ้าง
กระบวนการในการเลือกหัวข้อสัมนา
- สาเหตุของการเลือกเรื่องดังกล่าว
-ต้องการให้ผู้อ่านทราบอะไรจากชื่อเรื่อง
-เป็นเรื่องที่มีมุมมองใหม่ที่น่าสนใจสังเกตกว่าที่ทราบกันอยู่
-เข้าใจง่ายต่อผู้ที่เข้ามาอ่าน
-ตั้งชื่อตามลักษณะของผู้เข้าร่วมสัมมนา
ปัจจัยในการสัมนา
1.ด้านเนื้อหา
2.ด้านบุคลากร
3.ด้านสถานที่
4.ด้านเวลา
5.ด้านงบประมาณ
6.ด้านประชาสัมพันธ์
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564
วิชา สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
รหัสวิชา EAED4902
ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่
3
นำเสนอ
คำถามของกลุ่ม แปดมกรา
1.ถ้าหากว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกติดแท็บเล็ตคุณจะมีวิธีการดึงดูดความสนใจเด็กออกจากแท็บเล็ตอย่างไร
2.ผู้ปกครอง จะมีวิธีในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ลูกอย่างไรจึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด
3.ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดจากการที่เด็กติดสื่อและเทคโลยี
มีอะไรบ้าง
4.เทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
5.ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้สื่อ เทคโนโลยี คุณจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้เด็กใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
คำถามจากเพื่อน
1.เราจะมีวิธีอย่างไรให้ลูกเดินไปในทางสื่อสีขาวมากขึ้น
2.ความเหมาะสมขอบสื่อเทคโนโลยี
นี่ต้องใช้อย่างไรหรอะ
3.ถ้าเด็กติดเทคโนโลยรจนเกิดเป็นนิสัยไม่พึงประสงค์แล้ว
เล่น นิสัยเอาแต่ใจ รออะไรนานๆไม่ได้ควรแก้ไขยังไง
4.เด็กสามารถเล่นกับมือถือได้ประมาณกี่นาทีหรือควรใช้เวลาเท่าไหร่
คำถามของกลุ่ม แปดมกรา
1.ถ้าหากว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกติดแท็บเล็ตคุณจะมีวิธีการดึงดูดความสนใจเด็กออกจากแท็บเล็ตอย่างไร
?
👉 ตอบ :
กำหนดกติกาการเล่นมือถือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นมือถือเพลินแบบไม่มีกำหนดเวลานะคะ
แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้ควบคุมการเล่นของลูก โดยมีการกำหนดกติกากันก่อนว่า
จะให้ลูกเล่นได้นานแค่ไหน เช่น ลูกเล่นได้ 1 ชั่วโมงเท่านั้น
และควรจริงจังกับเวลาที่ตกลงกันด้วย ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเกินเวลา
เพราะจะทำให้ลูกไม่เชื่อถือในคำพูดของคุณได้ค่ะ โดยปกติแล้วสำหรับเด็กเล็กๆ
ควรให้เวลาเล่นมือถือไม่เกิน 1 ชั่วโมงค่ะ
2.ผู้ปกครอง จะมีวิธีในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ลูกอย่างไรจึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด
?
👉 ตอบ : ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น พ่อแม่และครูจึงควรใส่ใจในการใช้เทคโนโลยีของเด็กเล็กเป็นพิเศษ เทคโนโลยีมีข้อดีอยู่หลายประการ และอยู่ในความสามารถที่เด็กจะฝึกฝนการใช้งานได้ เทคโนโลยีสามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เรื่องการอ่าน A - Z โดยให้เด็กดูผ่านแอปพลิเคชั่นที่สามารถส่องไปบนหนังสือ (Ar Book) เด็กๆจะเพลิดเพลินกับภาพและเสียง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้ทั้งที่บ้าน และห้องเรียน เช่น พ่อแม่และครูสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น แล้วสามารถนำไปเปิดที่บ้านและโรงเรียนได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาแทนที่วิธีการสอนเด็กระดับปฐมวัยทั้งหมด เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนให้ดีขึ้น และเป็นสื่อกลางที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
3.ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดจากการที่เด็กติดสื่อและเทคโลยี
มีอะไรบ้าง ?
👉 ตอบ : เด็กขาดทักษะทางสังคมในการเล่นและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น สายตาของเด็กมีปัญหาเพิ่มขึ้น เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากบุคคลในโซเชียล ติดสื่อเทคโนโลยีจนเกินความจำเป็น มีสภาวะสมาธิสั้นก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลงเนื่องจาก กระบวนการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงมือปฏิบัติผ่านการเล่น
4.เทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
?
👉 ตอบ : ขอบเขตของการพัฒนาทางกายจำกัดและลดลง การมุ่งเอาชนะจนในที่สุดอาจกลายเป็นพฤติกรรมประจำตัวของเด็ก ความสามารถในการปรับตัวมีน้อยลง การคิดวิเคราะห์น้อยลง ขาดการสืบเนื่องทางความคิด ส่งผลต่อการใช้เหตุผล
5.ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้สื่อ
เทคโนโลยี คุณจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้เด็กใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม ?
👉 ตอบ :
ผู้ปกครองควรจัดสรรเวลาให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเวลา ตั้งกฎข้อตกลงกันในครอบครัว
และหากิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ภายในครัว เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่านิทาน
การอ่านหลังสือ และการทำอาหารร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้ขณะที่ลูกใช้สื่อเทคโนโลยี
เราควรดูไปกับเขาและขณะเดียวกันคอยให้คำแนะนำ
การตั้งคำถามให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดจะเป็นการเพิ่มการเรียนรู้ให้เด็กไปในตัว
คำถามจากเพื่อน
1.เราจะมีวิธีอย่างไรให้ลูกเดินไปในทางสื่อสีขาวมากขึ้น
?
👉 ตอบ :
ให้สื่อเป็นครูทางเลือกอีกทางนึงที่สอนให้เด็กตั้งหลักกับเป้าหมายชีวิตและแรงบัลดาลใจกับกับการเรียนการใช้ชีวิตในอนาคต
2.ความเหมาะสมของสื่อเทคโนโลยี
ควรต้องใช้อย่างไรจึงจะอยู่บนความเหมาะสม ?
👉 ตอบ :
ความเหมาะสมของสื่อเทคโนโลยี การพจิารณาด้านความเหมาะสมของสื่อเทคโนโลยีเป็นสิ่งเป็น
เพราะสื่อเทคโนโลยีต้องช่วยพัฒนาเด็กทั้ง ด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป การใช้สื่อเทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยควรใช้ในลักษณะเป็นอุปกรณ์การเรียนรู้
หรือเรียนแบบร่วมมือเพื่อลดการแยกตัวของเด็ก
3.ถ้าเด็กติดเทคโนโลยีจนเกิดเป็นนิสัยไม่พึงประสงค์แล้ว
เล่น นิสัยเอาแต่ใจ รออะไรนานๆ ไม่ได้ควรแก้ไขยังไง ?
👉 ตอบ :
ควรเริ่มต้นที่ครอบครัวจะเป็นทางที่ดีค่ะและควรค่อยลดเวลาการเล่น กำหนดข้อตกลง
สมมติ ถ้าเกิดวันนี้เล่นเกินเวลาที่กำหนด เราก็จะบอกเด็กว่างั้นพรุ่งนี้จะงดเวลา
หรืองดกิจกรรมทางเทคโนโลยี
และอาจมีวิธีแสดงให้เด็กเห็นถึงโทษของผลเสียในการติดเทคโนโลยี
อาจจะเป็นนิทานหรือคลิปการ์ตูนที่เข้าใจง่าย
4.เด็กสามารถเล่นกับมือถือได้ประมาณกี่นาทีหรือควรใช้เวลาเท่าไหร่
?
👉 ตอบ :
เด็กอายุระหว่าง 1-3 ปี เด็กในวัยนี้ยังไม่ควรที่จะใช้โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าหากจะต้องใช้จริง
ๆไม่ควรใช้โทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ตเกิน 15 นาทีเป็นอย่างมาก
เด็กอายุระหว่าง 3-6 ปี
ไม่ควรใช้โทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ตไม่เกิน 30 นาทีเป็นอย่างมาก
และระหว่างที่เด็กเล่นโทรศัพท์
หรือแท็บเล็ตควรมีผู้ปกครองดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
วิชา สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย รหัสวิชา EAED 4902 ผู้สอน อาจารย์ ดร.จินตนา สุขสำราญ ครั้งที่ 12 เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อต่าง ๆ